ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีอำเภอบางสะพาน

ห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารีอำเภอบางสะพาน

158 หมู่ 1 ตำบลกำเนิดนพคุณ อ.บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทรศัพท์ 032-548174 

พิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2534 เวลา 9.30 น.










พิธีเปิด ..วันที่ 18 สิงหาคม 2537

ความเป็นมา ..จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดหนึ่งที่ได้ร่วมดำเนินการตามโครงการจัดตั้งห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" ขึ้นที่อำเภอบางสะพาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวโรกาสมีพระชนมายุครบ 36 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2534

สถานที่ตั้ง ..ตั้งอยู่ในเขตที่ดินบริเวณที่ว่าการอำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 77140

เนื้อที่ ..ที่ดินราชพัสดุ จำนวน 240 ตารางวา

งบประมาณ ..มีดังนี้
.......... งบประมาณการก่อสร้าง
............... 1. เงินบริจาค จากผู้มีจิตศัทธาในท้องถิ่น .........................................972,738.90 ..บาท
............... 2. เงินงบประมาณจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน ...........................1,000,000.00 ..บาท
.......... งบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์
............... 1. เงินบริจาคจากผู้มีจิตศัทธาในท้องถิ่น ...............................................70,500.00 ..บาท
............... 2. เงินงบประมาณจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน ..............................370,140.00.. บาท
.......... งบประมาณการจัดซื้อหนังสือ
............... 1. เงินบริจาคจากผู้มีจิตศัทธาในท้องถิ่น .............................................101,070.00 ..บาท
............... 2. เงินงบประมาณจากกรมการศึกษานอกโรงเรียน ..............................300,000.00 ..บาท
.......... งบประมาณตกแต่งบริเวณภายนอกอาคาร
............... 1. เงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาในท้องถิ่น ...........................................130,000.00 ..บาท
............... 2. เงินบำรุงการศึกษาจาก
................... ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ .........................100,000.00 ..บาท

.......... รวมทั้งสิ้น ....................................................................................3,134,813.90 ..บาท


รูปแบบการจัด
........... การจัดบริการและกิจกรรมห้องสมุดประชาชน "เฉลิมราชกุมารี" อำเภอบางสะพาน ได้ยึดถือตามแนวพระราชดำริ โดยได้จัดกิจกรรมตามห้องต่าง ๆ ดังนี้
.......... 1. ห้องเฉลิมพระเกียรติ อยู่ชั้น 2 ของอาคาร ห้องนี้จัดขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ภายในห้องจะประกอบด้วยหนังสือพระราชนิพนธ์ต่าง ๆ ภาพฝีพระหัตถ์ ของที่ระลึกจากฝีพระหัตถ์ของสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้ ยังได้จัดแสดงภาพพระราชกรณียกิจ และหนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติ ได้จัดไว้ในห้องนี้ รวมทั้งภาพพระราชกรณียกิจในโครงการพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาถด้วย
.......... 2. ห้องบริการหนังสือทั่วไป อยู่ชั้นที่ 1 ส่วนนี้ประกอบด้วย ส่วนของการให้บริการค้นคว้า การอ่าน การยืมหนังสือ และบริการตอบคำถาม ภายในบริเวณนี้จะมีหนังสือ ตำราวิชาการต่าง ๆ เอกสาร สื่อสิ่งพิมพ์ ที่เป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าหาความรู้ ของนักเรียน นักศึกษา ประชาชนทั่วไป
.......... 3. มุมเด็กและเยาวชนคนเก่ง อยู่ที่ชั้น 1 ส่วนนี้จัดไว้สำหรับเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะบริเวณนี้จะประกอบด้วย อุปกรณ์ เครื่องเล่น ที่เสริมสติปัญญา หนังสือที่คัดเลือกไว้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมีเวทีสำหรับจัดกิจกรรมให้เด็กและเยาวชน ได้แสดงความสามารถ มุมนี้จะเป็นส่วนที่ช่วยปลูกฝังและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีนิสัยรักการอ่านและการแสวงหาความรู้และฝึก ให้เด็กมีความกล้าที่จะแสดงออกในทางสร้างสรรค์
.......... 4. ห้องเอนกประสงค์ อยู่ชั้นที่ 2 เป็นห้องจัดนิทรรศการเรื่องราวและข้อมูลที่สำคัญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และของอำเภอบางสะพาน ซึ่งจะหมุนเวียนจัดแสดงตามโอกาสต่าง ๆ อาทิเช่น ทอง บางสะพาน ซึ่งจะแสดงเกี่ยวกับการร่อนทอง ประวัติความเป็นมา สถานที่ท้องเที่ยวที่สำคัญของอำเภอบางสะพาน และจังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ หรือการแสดงทางด้านอาชีพอุตสาหกรรมที่กำลังจะเกิดขึ้นของบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด
.......... 5. ห้องโสตทัศนศึกษา อยู่ชั้นที่ 2 เป็นห้องบริการสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้เพื่อการศึกษาในปัจจุบัน โดยเน้น กระบวนการเรียนการสอนของกรมการศึกษานอกโรงเรียน อาทิเช่น วิดีทัศน์ เทปบันทึกเสียง สไลด์ประกอบเสียง ซึ่งจะมีเรื่อง ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ความรู้ด้านการประกอบอาชีพ ด้านสุขภาพอนามัย เทปสอนภาษา เทปบรรยายธรรมะ และเรื่องราว ความรู้ทั่วไป มีอุปกรณ์ครบครัน ผู้สนใจสามารถเข้าไปใช้บริการได้ตลอดทั้งวัน โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองเป็นหลัก
.......... 6. มุมวารสารและหนังสือพิมพ์ อยู่ที่ชั้น 1 เป็นส่วนที่จัดไว้สำหรับผู้ที่ต้องการรับทราบข่าวสาร เหตุการณ์ของสังคม ที่เป็นปัจจุบัน





รายงานการประเมินตนเอง(SAR 2557) บทที่ ๔ การสรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา



บทที่ ๔
การสรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา

@ การสรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
          การสรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา สามารถสรุปผลได้เป็น ๒ ส่วน คือ
๑)   สรุปผลการประเมินตนเองในภาพรวมของสถานศึกษา
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ
                   สถานศึกษากำหนดเป้าหมายความสำเร็จโดยภาพรวมของสถานศึกษา ไว้ที่ระดับคุณภาพ  ดีมาก  ซึ่งสถานศึกษาได้ประเมินตนเองในมาตรฐานที่ ๑-๖ ไว้ดังนี้

มาตรฐาน /ตัวบ่งชี้

น้ำหนัก(คะแนน)

ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา

คะแนนที่ได้

ระดับคุณภาพ

มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ



ตัวบ่งชี้ที่๑.
ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
๒.๘๑
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๒
ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๒.๙๘
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๓
ผู้เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
๒.๙๑
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๔
ผู้เรียน คิดเป็น/ทำเป็น
๒.๘๕
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๕
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นขั้นพื้นฐาน
๑๐
............
.............
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๖
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๗
ผู้เรียนมีงานทำหรือมีรายได้เสริม มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๘
ความพึงพอใจต่อการให้บริการการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๗๒
ดีมาก
มาตรฐานที่ ๒ คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ



ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๑
คุณภาพของหลักสูตร
๔.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๒
คุณภาพของครู
๓.๒๐
ดี
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๓
คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูและผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
๔.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๔
คุณภาพผู้สอน/วิทยากรสอนการศึกษาต่อเนื่อง
๓.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๕
คุณภาพสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนและผู้รับบริการ
๓.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๖
คุณภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
๔.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๒.๗
การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
๓.๐๐
ดีมาก
มาตรฐานที่ ๓ การบริหารการศึกษา



ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๑
คุณภาพของการบริหารสถานศึกษา
๒.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๒
ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ
๒.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๓
ผลการบริหารความเสี่ยง
๒.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๔
ผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา
๒.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๓.๕
ผลการปฏิบัติตามบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา
๒.๐๐
ดีมาก
มาตรฐานที่ ๔ การประกันคุณภาพการศึกษา



ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๑
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
๕.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๔.๒
การประเมินคุณภาพสถานศึกษาโดยต้นสังกัด
๔.๑๗
ดี
มาตรฐานที่ ๕ อัตลักษณ์ของสถานศึกษา



ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๑
ผลการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามปรัชญา พันธกิจ และวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา
๕.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๕.๒ 
ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
๔.๐๐
ดี
มาตรฐานที่  ๖ มาตรการส่งเสริม



ตัวบ่งชี้ที่ ๖.๑
ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ที่ ๖.๒
ผลที่เกิดจากการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
.๐๐
ดีมาก

รวม
๑๐๐
.............
.............

          จากผลการประเมินตนเองภายในภาพรวมของสถานศึกษา ผลการประเมินดังกล่าวเกิดจากความตระหนัก ความพยายามของสถานศึกษา ในการดำเนินกิจกรรม ดังต่อไปนี้

ข้อมูลความตระหนัก
สถานศึกษากำหนดเป็นพันธกิจและนโยบายในการจัดการศึกษา ที่มุ่งพัฒนา ผู้เรียน/ผู้รับบริการทั้งงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัยให้เป็นผู้ใฝ่รู้ มีความรู้ตามหลักสูตร พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข ปรับรูปแบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา จัดกิจกรรมรณรงค์ ต่อต้าน ป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา และมีการถ่ายทอดนโยบายดังกล่าวให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ตระหนักและดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน ให้มีรูปแบบหลากหลายเหมาะสมกับสภาพและความต้องการของผู้เรียน มีการพัฒนาหลักสูตรและจัดการศึกษาให้มีวิธีเรียนที่หลากหลาย และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด ตัดสินใจ มีการใช้วิธีวัดผลที่หลากหลาย โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาคำตอบด้วยตนเองผ่านวิธีเรียนแบบต่างๆ เช่น การเรียนรู้โดยการทำโครงงาน เป็นต้น มีการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาให้สอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน รวมทั้งมีการจัดทำโครงการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ  โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนที่เน้นอาชีพระยะสั้น เป็นการจัดการศึกษาต่อเนื่องโดยพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชนในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้น ๕๐ ชั่วโมงขึ้นไปตามความต้องการของผู้เรียน ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้รับบริการให้มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้ มีนิสัยรักการอ่าน ค้นคว้าติดตามข่าวสาร ข้อมูลหรือการอบรมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และนำความรู้ไปพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องรวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนทั้งในส่วนห้องสมุดประชาชน กศน.ตำบลและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ

ข้อมูลความพยายาม
สถานศึกษาได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการในพื้นที่บริการของสถานศึกษา ได้แก่
การศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษาได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการในพื้นที่บริการของสถานศึกษา ได้แก่
๑. โครงการประชาสัมพันธ์งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
. โครงการเทียบระดับการศึกษาในระดับสู.สุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓. โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔. โครงการพัฒนา กศนตำบลให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน
๕. โครงการจัดการศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
๖. โครงการ กีฬา กศน.เกมส์ ครั้งที่ ๔ (สมุทรสาคร)
๗. โครงการมหกรรมกีฬา กศน.เกมส์ ครั้งที่ ๔ ชลบุรี
๘. โครงการพัฒนาทักษะด้านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
๙. โครงการอบรมลูกเสือวิสามัญต้านยาเสพติด รุ่นที่ 
๑๐. โครงการวัยใสใส่ใจเพศศึกษาและโรคเอดส์
๑๑. โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
๑๒. โครงการอบรมคุณธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนเพื่อความรักและความสามัคคี
๑๓. โครงการ กศน.สัญจร ๒๕๕๗ : มหกรรมวิทยาศาสตร์และอาชีพสู่อาเซียน อำเภอบางสะพาน
๑๔. โครงการ  สุดยอด กศน. ปี ๒ ระดับภาคกลาง
๑๕. โครงการ  สุดยอด กศน. ปี ๒ รอบ Audition ระดับภาคกลาง
นอกจากนี้ สถานศึกษายังมีความพยายามที่จะจัดหาและพัฒนาสื่อรวมทั้งกระจายสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่อยู่นอกเหนือตำราในห้องเรียน กระจายไปยัง กศน.ตำบล ชุมชน ผ่านภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้เรียนและประชาชนเกิดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู กศน.ตำบล นำปัญหาที่ได้จากการจัดการเรียนการสอน หรือบันทึกหลังสอนมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยการทำวิจัยในชั้นเรียนและการประชุมปรึกษาหารือหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน
การศึกษาต่อเนื่อง สถานศึกษาได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการในพื้นที่บริการของสถานศึกษา ได้แก่ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โครงการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ  โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯลฯ นอกจากนั้น ยังสอดแทรกกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนให้เห็นคุณค่าที่ดีงามของวัฒนธรรมไทยและประเพณีไทย และส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมสืบทอดประเพณีไทย เช่น วันลอยกระทง วันเด็ก วันสงกรานต์ วันเข้าพรรษา วันสิ่งแวดล้อมโลกเป็นต้น
การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการในพื้นที่บริการของสถานศึกษา ได้แก่ โครงการบ้านหนังสือสู่ชุมชนโครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ โครงการวันเด็กแห่งการเรียนรู้ โครงการวันรักการอ่านโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน โครงการส่งเสริมความรู้สู่ชุมชนเพื่อนักศึกษา โครงการส่งเสริมการใช้แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น และเน้นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการพัฒนา กศน.ตำบลให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและ โครงการพัฒนา กศน.ตำบลให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน และจัดนิทรรศการในงานเฉลิมพระเกียรติ  ๑๒  สิงหา ๒๕๕๗   ศาลาเอนกประสงค์ที่ว่าการอำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพาน  และ ในโครงการจังหวัดพบประชาชน ณ ตำบลร่อนทอง อำเภอบางสะพาน
นอกจากนี้ สถานศึกษายังได้มีระบบการควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานผ่านระบบการควบคุมภายใน โครงการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และมีการจัดโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน  โครงการนิเทศการจัดการศึกษา และมีงานวิจัยรองรับ ได้แก่ งานวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย งานวิจัยของการศึกษาต่อเนื่อง รวมทั้งโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่สถานศึกษาพอเพียงเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้จากผลการประเมินตนเองโดยภาพรวมของสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษาสามารถดำเนินงานได้ บรรลุ ตามเป้าหมายโดยภาพรวมที่กำหนดไว้ โดยมีจุดเด่น จุดควรพัฒนา และข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ดังนี้

จุดเด่น
การศึกษาขั้นพื้นฐาน  สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ครบทุกหลักสูตรที่เปิดสอน  มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อจัดทำเอกสารการเรียนการสอนในวิชาเลือก  มีหลักสูตรท้องถิ่นซึ่งบูรณาการสภาพปัญหาความต้องการและภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำหลักสูตรสถานศึกษาไปพัฒนาผู้เรียน มีการพัฒนา กศน.ตำบลอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับนักศึกษาในตำบล ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการจัดการศึกษานอกระบบ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดูแลติดตามผู้เรียน รวมทั้งมีการพัฒนาตนเองของบุคลากรอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า ๒๐ ชั่วโมงต่อปี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสอนมากขึ้น และมีการพัฒนาผู้เรียนทางวิชาการโดยการสอนเสริม    ค่ายวิชาการโดยวิทยากรที่มีความรู้  มีคุณวุฒิในวิชาหลัก เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์  เป็นต้น
การศึกษาต่อเนื่อง สถานศึกษามุ่งพัฒนา ผู้เรียน/ผู้รับบริการมีความรู้ตามหลักสูตร  มีการถ่ายทอด  นโยบายดังกล่าวให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ตระหนักและดำเนินการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของผู้เรียน  พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลาย   โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ  การจัดทำหลักสูตร การเป็นวิทยากร การร่วมสรรหาวิทยากรจากชุมชน  มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมอาชีพทั้งด้านเกษตรกรรม  คหกรรม อุตสาหกรรม การบริการตามบริบทความต้องการของแต่ละชุมชน ถึง ๔๘ โครงการ ๒๑ อาชีพ ใน ๕ ตำบล ๑ เทศบาล ทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมที่ได้รับในระดับดีมาก
การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษารวมถึงห้องสมุดประชาชน  “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอบางสะพาน มีการส่งเสริมการอ่านให้กับนักศึกษาโดยการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น กิจกรรมวันเด็กของทุกปี การให้บริการของห้องสมุด การส่งเสริมให้มีมุมหนังสือในชุมชน การประกวดการส่งเสริมการอ่าน โครงการบ้านหนังสือสู่ชุมชน โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน โครงการส่งเสริมความรู้สู่ชุมชนเพื่อนักศึกษา  โครงการส่งเสริมการใช้แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยใน กศน.ตำบล โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในทุกตำบล จัดนิทรรศการในงานเฉลิมพระเกียรติ  ๑๒  สิงหาคม ๒๕๕๗  และจุดเทียนชัยถวายพระพร    ศาลาเอนกประสงค์ที่ว่าการอำเภอบางสะพาน อำเภอบางสะพาน   ส่งเสริมสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ในอำเภอบางสะพาน  ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกชุมชน  ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายและสถาบันครอบครัว ชุมชน  ได้จัดกิจกรรมและเผยแพร่กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและจัดหาสื่อส่งเสริมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่ทันสมัยให้แก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย

จุดควรพัฒนา
          . เวลาในการมาเรียนที่ไม่ตรงกัน
. การเปิดกลุ่มอาชีพยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียนในบางพื้นที่หากแต่งบประมาณมีจำกัด
๓. การมุ่งเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔. ควรสร้างการยอมรับจากองค์กรภายนอกสถานศึกษาให้มากขึ้น
. การประชุมภาคีเครือข่ายยังทำได้น้อยเมื่อเทียบกับภาระงานที่ต้องการทำ
๖. วิทยากรผู้สอนการศึกษาต่อเนื่องซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นบางท่านยังไม่มีวุฒิบัตรหรือเกียรติบัตรที่ได้รับการยกย่องตามสาขาที่สอนทุกคนแต่ใช้คำรับรองประสบการณ์จากผู้นำชุมชนที่วิทยากรอยู่

ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
          ๑. พัฒนาหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นและหลากหลายรองรับความต้องการมากขึ้น เน้นหลักสูตรที่สามารถฝึกปฏิบัติในชุมชนได้เอง
๒. วางระบบติดตามดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เข้มข้นขึ้น เน้นการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนรายบุคคลมากขึ้น เช่น นักศึกษาที่ประกอบอาชีพไม่มีเวลามาเรียน
๓. ต้นสังกัดควรมีการประเมินคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
๔. การจัดแสดงผลงานของนักศึกษาเพื่อให้ปรากฏต่อสาธารณชน
๕. ควรมีการประชุมภาคีเครือข่ายหลักทั้งอำเภอเพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ กศน.ให้เครือข่ายทราบและวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างน้อยปีละ   ครั้ง
๖. หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการจัดโครงการอบรมพัฒนาวิทยากรผู้สอนการศึกษาต่อเนื่องเพื่อให้มีวุฒิบัตร


) การสรุปผลการประเมินตนเอง เพื่อพัฒนาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. ๒๕๕๓ รวม ๔ ด้าน
                    เมื่อสถานศึกษาได้ประเมินตนเองตามรายมาตรฐานแล้ว สถานศึกษาต้องตอบให้ได้ว่า ผลการดำเนินงานมีผลสัมฤทธิ์โดยภาพรวมตามจุดมุ่งหมาย ของกฎกระทรวงเป็นอย่างไร ซึ่งประกอบด้วย ๔  ด้าน ดังนี้
                   ด้านที่ ๑ ผลการจัดการศึกษา ประกอบด้วย มาตรฐานที่ ๑ ตัวบ่งชี้ที่ ๑.๑-๑.๘,               มาตรฐานที่ ๕ ตัวบ่งชี้ที่  ๕.๑-๕.๒ และ มาตรฐานที่ ๖ ตัวบ่งชี้ที่ ๖.๒


มาตรฐาน
น้ำหนัก
(คะแนน)
ระดับคุณภาพ
คะแนนที่ได้
ระดับคุณภาพ
ด้านที่ ๑ ผลการจัดการศึกษา



ตัวบ่งชี้ ๑.๑ ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
๒.๘๑
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๑.๒ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
๒.๙๘
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๑.๓ เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
๒.๙๑
ดีมาก

มาตรฐาน
น้ำหนัก
(คะแนน)
ระดับคุณภาพ
คะแนนที่ได้
ระดับคุณภาพ
ตัวบ่งชี้ ๑.๔ ผู้เรียน คิดเป็น/ทำเป็น
๒.๘๕
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๑.๕ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑๐
..............
.............
ตัวบ่งชี้ ๑.๖ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๑.ผู้เรียนมีงานทำหรือมีรายได้เสริม มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๑.๘ ความพึงพอใจต่อการให้บริการการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.๗๒
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๕.๑ ผลการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามปรัชญา พันธกิจ และวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา
๕.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๕.๒ ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
๔.๐๐
ดี
ตัวบ่งชี้ ๖.๒ ผลที่เกิดจากการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
.๐๐
ดีมาก
รวมคะแนน
๕๐
............
...........

สรุปผลการวิเคราะห์ตนเองของสถานศึกษา
           สถานศึกษาสามารถสรุปผลการประเมินผลตนเอง ด้านผลการจัดการศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ..................... ซึ่ง บรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งไว้ ดังนี้

จุดเด่น
สถานศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่องอยู่ในระดับดีมาก  ทั้งนี้เนื่องจากนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงาน กศน.  มุ่งเน้นการให้ผู้เรียนมีงานทำพึ่งพาตนเองได้  สถานศึกษาจึงได้มีการดำเนินการโดยมุ่งพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความรู้ตามความต้องการ มีการถ่ายทอด  นโยบายดังกล่าวให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ตระหนักและดำเนินการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของผู้เรียน   เปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ การจัดทำหลักสูตร การเป็นวิทยากร การร่วมสรรหาวิทยากรจากชุมชน มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมอาชีพทั้งด้านเกษตรกรรม   ด้านพาณิชยกรรมและการบริการ และด้านความคิดสร้างสรรค์ ตามบริบทความต้องการของแต่ละชุมชน  ทั้งในโครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนอำเภอ  จำนวน    กลุ่ม  โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน  (อาชีพตามความต้องการของพื้นที่) จำนวน  ๑๐  กลุ่ม   โครงการการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ จำนวน    กลุ่ม และการศึกษาอาชีพระยะสั้นเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน  จำนวน ๘ กลุ่ม  รวม  ๓๐  กลุ่ม  ทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนในชุมชนได้มากส่งผล  ผู้เรียนมีงานทำหรือมีรายได้เสริม  มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพที่ตนได้รับการถ่ายทอดและมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมที่ได้รับนอกจากนี้จุดเด่นอีกประการหนึ่ง คือ  สถานศึกษามีภาคีเครือข่ายที่ดี ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล  เทศบาลทุกแห่ง  โรงเรียน  วัด  องค์กรของรัฐ  องค์กรเอกชนและกลุ่มอาชีพต่างๆ  ที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานการจัดการศึกษาทั้งในด้านอาคารสถานที่  งบประมาณ  วัสดุอุปกรณ์  วิทยากร  ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดีและมีคุณภาพ  มีกลุ่มที่เป็นที่ยอมรับของชุมชนในการประกอบอาชีพหลายกลุ่ม  เช่น  กลุ่มปลูกผักไร้ดิน กลุ่มขนมไทยและกลุ่มธุรกิจการจัดดอกไม้ ตำบลกำเนิดนพคุณ  กลุ่มขนมไทย  ตำบลชัยเกษม  กลุ่มการทำน้ำพริกและกลุ่มบริการผูกผ้า  จัดผ้าประดับโต๊ะ  จัดดอกไม้ของตำบลทองมงคล  กลุ่มแปรรูปวัตถุดิบจากมะพร้าว ตำบลธงชัย  กลุ่มนวดแผนไทยและกลุ่มศิลปะการจัดดอกไม้แห้ง พวงหรีด  โปรยทาน สานตะกร้าจากเส้นพลาสติก  ตำบลพงศ์ประศาสน์  เป็นต้น

จุดควรพัฒนา
                ๑. เวลาในการมาเรียนของผู้เรียนที่ไม่ตรงกัน ทำให้ครูผู้สอนขาดความต่อเนื่องในการสอน
๒. การเปิดกลุ่มอาชีพยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียนในบางพื้นที่หากแต่งบประมาณมีจำกัด
๓.  การมุ่งเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ด้านที่ ๒ การบริหารจัดการ ประกอบด้วย มาตรฐานที่   ตัวบ่งชี้ที่  ๒.๗ , มาตรฐานที่ ๓                ตัวบ่งชี้ที่  ๓.๑-๓.๕  และ มาตรฐานที่  ๖ ตัวบ่งชี้ที่ ๖.๑
มาตรฐาน
น้ำหนัก
(คะแนน)
ระดับคุณภาพ
คะแนนที่ได้
ระดับคุณภาพ
ด้านที่ ๒ ด้านการบริหารจัดการ



ตัวบ่งชี้ ๒.๗ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
๓.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๓.๑ คุณภาพของการบริหารสถานศึกษา
๒.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๓.๒ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ
๒.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๓.๓ ผลการบริหารความเสี่ยง
๒.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๓.๔ ผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา
๒.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๓.๕ ผลการปฏิบัติตามบทบาทของคณะกรรมการ สถานศึกษา
๒.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๖.๑ ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน รักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
๕.๐๐
ดีมาก
รวมคะแนน
๑๘
๑๘
ดีมาก
สรุปผลการวิเคราะห์ตนเองของสถานศึกษา
          สถานศึกษาสามารถสรุปผลการประเมินผลตนเอง ด้านการบริหารจัดการในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ.....ดีมาก.... ซึ่ง บรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งไว้ ดังนี้

จุดเด่น
ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้ ความสามารถ มีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน มีการวางแผนการบริหารงาน จัดกิจกรรมตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ ปรัชญา วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ จุดเน้นของต้นสังกัดและสถานศึกษาเพื่อให้งานมีคุณภาพมุ่งสู่มาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย  ครอบคลุมตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ และด้านบริหารทั่วไป เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน ยึดหลักประชาธิปไตยในการอยู่ร่วมกัน ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา กศน.ตำบลอย่างต่อเนื่องโดยการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ สื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นให้กับทุก กศน.ตำบล ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาตนเอง มีการนำระบบการประกันคุณภาพมาใช้ในการบริหารจัดการงานใน กศน.อำเภอบางสะพานเพื่อมุ่งสู่คุณภาพอย่างแท้จริง

จุดควรพัฒนา
-

ด้านที่ ๓ ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ประกอบด้วย มาตรฐานที่ ๒ ตัวชี้วัดที่ ๒.๑-๒.๖
มาตรฐาน
น้ำหนัก
(คะแนน)
ระดับคุณภาพ
คะแนนทีได้
ระดับคุณภาพ
ด้านที่ ๓ ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ



ตัวบ่งชี้ ๒.๑ คุณภาพของหลักสูตร
๔.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๒.๒ คุณภาพของครู/ผู้สอน
๓.๒๐
ดี
ตัวบ่งชี้ ๒.๓ คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูและผู้สอนที่เน้นผู้เรียน/ผู้รับบริการเป็นสำคัญ
๔.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๒.๔ คุณภาพผู้สอน/วิทยากรสอนการศึกษาต่อเนื่อง
๓.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๒.๕ คุณภาพสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการ
๓.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๒.๖ คุณภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
๔.๐๐
ดีมาก
รวมคะแนน
๒๒
๒๑.๒๐
ดีมาก
สรุปผลการวิเคราะห์ตนเองของสถานศึกษา
          สถานศึกษาสามารถสรุปผลการประเมินผลตนเอง ด้านการบริหารจัดการในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ.....ดีมาก.... ซึ่ง บรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งไว้ ดังนี้
จุดเด่น
สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและท้องถิ่น มีรายวิชาและกิจกรรมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ และส่งเสริมให้คณะครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความถนัด และความสามารถของผู้เรียน และพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ตลอดทั้งการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในการจัดทำอย่างน้อย ๒๑ หลักสูตร  กระบวนการดำเนินการแบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) ขั้นการวางแผน มีการประชุมบุคลากรร่วมวางแผนงาน สำรวจความต้องการในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา และผลการวิเคราะห์การประเมินหลักสูตร สภาพปัญหา ข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานในปี ๒๕๕๖ ที่ผ่านมาเป็นข้อมูลสารสนเทศในการดำเนินการ ๒) ขั้นการดำเนินการ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำหลักสูตร  จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและรวบรวมเป็นรูปเล่ม ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา และประกาศใช้หลักสูตร   ๓) ขั้นตรวจสอบ โดยการนิเทศ ติดตามผลและประเมินผลการใช้หลักสูตร  และ ๔) ขั้นปรับปรุงพัฒนา โดยสรุปผลการจัดทำโครงการและนำผลมาใช้ในการจัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในปี ๒๕๕๗   ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ทำให้สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น รวมทั้งสนองนโยบายของสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๒๑ หลักสูตรโดยได้รับคำรับรองจากคณะกรรมการสถานศึกษา ส่งผลให้สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีงานทำ มีรายได้เสริม และคณะครูมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้บุคลากร กศน.อำเภอบางสะพานทุกคนยังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยการเข้ารับการอบรม ประชุมร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดและภาคีเครือข่าย อย่างน้อย ๒๐ ชั่วโมงต่อปี

จุดควรพัฒนา
๑. วิทยากรผู้สอนการศึกษาต่อเนื่องซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นบางท่านยังไม่มีวุฒิบัตรหรือเกียรติบัตรที่ได้รับการยกย่องตามสาขาที่สอนทุกคนแต่ใช้คำรับรองประสบการณ์จากผู้นำชุมชนที่วิทยากรอยู่  หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการจัดโครงการอบรมพัฒนาวิทยากรผู้สอนการศึกษาต่อเนื่องเพื่อให้มีวุฒิบัตรและเพิ่มศักยภาพในการเป็นวิทยากรผู้สอน
          . ครูไม่มีใบประกอบวิชาชีพครบทุกคน


ด้านที่ ๔ ด้านการประกันคุณภาพภายใน  ประกอบด้วย มาตรฐานที่ ๔ ตัวชี้วัดที่ ๔.๑-๔.๒
มาตรฐาน
น้ำหนัก
(คะแนน)
ระดับคุณภาพ
คะแนนทีได้
ระดับคุณภาพ
ด้านที่ ๔ ด้านการประกันคุณภาพภายใน



ตัวบ่งชี้ ๔.๑ การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
๕.๐๐
ดีมาก
ตัวบ่งชี้ ๔.  การประเมินคุณภาพภายในโดยต้นสังกัด
๔.๑๗
ดี
รวมคะแนน
๑๐
๙.๑๗
ดีมาก

สรุปผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
          สถานศึกษาสามารถสรุปผลการประเมินผลตนเอง ด้านการประกันคุณภาพภายในในภาพรวมอยู่ในระดับคุณภาพ.....ดี.... ซึ่ง บรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จที่ตั้งไว้ ดังนี้

จุดเด่น
สถานศึกษามีการกำหนดนโยบาย แผนการดำเนินงานที่มีตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ/กิจกรรม มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีที่เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงาน กศน. ใช้หลักการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม ทำให้ผลงานมีคุณภาพ ส่งผลให้สถานศึกษามีผลการประเมินตนเองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีนอกจากนี้ บุคลากรภายในสถานศึกษามีความรัก ความสามัคคี ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลในการปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จ

จุดควรพัฒนา
การได้รับการประเมินภายในจากต้นสังกัด

          แนวทางการพัฒนาสถานศึกษา
จากผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาจะเห็นได้ว่ามีจุดที่ควรพัฒนาหลายประการ เห็นสมควรจัดโครงการ/กิจกรรมเพื่อปรับปรุงพัฒนาคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๗ ดังนี้
๑. โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นและหลากหลายรองรับความต้องการมากขึ้น เน้นหลักสูตรที่สามารถฝึกปฏิบัติในชุมชนได้เอง
๒. โครงการแนะแนว ติดตามช่วยเหลือผู้เรียน เพื่อติดตามดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เข้มข้นขึ้น เน้นการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนรายบุคคลมากขึ้น เช่น นักศึกษาที่ประกอบอาชีพไม่มีเวลามาเรียน
๓. โครงการสอนเสริม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น
๔. ส่งเสริมบุคลากรครูการเข้าศึกษาต่อในระดับ ป.บัณฑิตและสอบเทียบมาตรฐานวิชาชีพครูเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพครู
๕. โครงการประกันคุณภาพ เพื่อเตรียมรับการประเมินจากต้นสังกัดเป็นการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
๖. โครงการประกวดโครงงานและมหกรรมอาชีพ เพื่อการจัดแสดงผลงานของนักศึกษาและผู้เรียนให้ปรากฏต่อสาธารณชน
๗. โครงการประชุมภาคีเครือข่าย เพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ กศน.ให้เครือข่ายทราบและวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง
๘. โครงการอบรมวิทยากร/ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อพัฒนาวิทยากรผู้สอนการศึกษาต่อเนื่องเพื่อให้มีวุฒิบัตรและมีศักยภาพในการจัดการเรียนรู้มากขึ้น
. โครงการพัฒนาบุคลากร เพื่อให้มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีความพร้อมในการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
๑๐. นำสถานศึกษาสู่สถานพอเพียงรวมทั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เยาวชนเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอบางสะพาน

ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
          จากผลการประเมินคุณภาพสถานศึกษา สถานศึกษาได้นำมาวิเคราะห์ นำข้อมูลมาใช้วางแผนทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต ดังนี้
 

วิเคราะห์ SWOT ในการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
ปัจจัยภายในสถานศึกษา
จุดเด่น
จุดด้อย
๑. สถานศึกษามีการกำหนดปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าประสงค์ กลยุทธ์ในการดำเนินงานของสถานศึกษาไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในแผนปฏิบัติการประจำปีโดยที่ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการกำหนด มีความสอดคล้องกับนโยบาย แนวทางการจัดการศึกษาของรัฐและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ต่อเนื่องทุกปี
๒. มีการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการไว้ทุกโครงการ
๓. สถานศึกษามีการจัดองค์กร โครงสร้างและกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินการและติดตามประเมินผลการดำเนินงานอย่างชัดเจน และนำผลการประเมินมาสรุปเพื่อวางแผนในการปรับปรุงพัฒนาในปีต่อไป
๔. มีการนำหลักสูตรสถานศึกษาไปพัฒนาผู้เรียนและมีการบริหารหลักสูตร การประเมินหลักสูตรและการปรับปรุงหลักสูตร
. ครูทุกคนมีความรู้ ความสามารถ คุณวุฒิและประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้
๖. ครูได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
๗. ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ สุขภาวะและสุนทรียภาพ มีความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ รักศิลปะ ดนตรี กีฬา
๘. สถานศึกษาเปิดโอกาสให้คณะกรรมการสถานศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่น และกลุ่มอาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ



๑. ครูมีภาระงานมากทำให้การปฏิบัติงานด้านการเรียนการสอนไม่เต็มที่
๒. ครูขาดขวัญและกำลังใจในการทำงาน
๓. ครูบางส่วนไม่ได้จบระดับปริญญาตรีทางด้านการศึกษาหรือได้รับการพัฒนาให้มีครูที่ดำรงตำแหน่งวิทยฐานะตั้งแต่ครูชำนาญการขึ้นไป
. ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นคนทำงานทำให้มาพบกลุ่มได้ไม่สม่ำเสมอ
๕. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษายังอยู่ในระดับต่ำเนื่องจากผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นผู้ใหญ่ที่ไม่มีเวลาอ่านหนังสือมากนัก

ปัจจัยภายนอกสถานศึกษา
โอกาส
อุปสรรค
๑. สภาพสังคมและวัฒนธรรมของอำเภอบางสะพาน เป็นอำเภอที่มีความหลากหลายด้านทรัพยากรป่าไม้ สัตว์ป่า หาดทราย ป่าชายเลน ปะการัง พืชเศรษฐกิจ และการประกอบอาชีพ อุตสาหกรรม มีบุคคลกลุ่มเป้าหมายในการจัดการศึกษากระจายอยู่ในพื้นที่ค่อนข้างหนาแน่นและสะดวกในการเข้ารับบริการ
๒. ประชากรไม่มีความขัดแย้งเรื่องศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรม มีสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจ เอื้อต่อการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต สังคมและชุมชน
๓. ประชากรส่วนมากมีฐานะปานกลาง ยังพร้อมที่จะรับความรู้เพื่อการประกอบอาชีพ
๔. สภาพพื้นที่เป็นที่ราบและเนินสูง มีเส้นทางคมนาคมทั่วถึงทุกตำบลหมู่บ้าน เอื้อต่อการเดินทางของครูและผู้เรียน
๕. มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ห้องสมุดเฉลิมราชกุมารี เอื้อต่อการศึกษาหาความรู้ของผู้เรียน
๖. มีภูมิปัญญาท้องถิ่นหลากหลาย เช่น การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การเพาะเห็ดฟาง ฯลฯ เอื้อต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียนและการระดมเครือข่ายในการจัดการศึกษา
๗. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอนุเคราะห์ให้ใช้สถานที่เป็น กศน.ตำบลและให้งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์สนับสนุนการศึกษาด้วยดี
๘. ชุมชนให้การสนับสนุนในเรื่องงบประมาณ กำลังคนในการจัดการศึกษ
๑. ประชากรในเขตบริการมีอาชีพหลากหลาย เวลาว่างจากการประกอบอาชีพต่างกัน บางส่วนไม่มีเวลาว่างเพียงพอ จึงเป็นอุปสรรคด้านความพร้อมในการพบกลุ่มให้ความรู้และการร่วมมือในการทำกิจกรรมร่วมกัน
๒. ผู้เรียนบางคนมีอาชีพไม่แน่นอน ต้องย้ายถิ่นไปทำมาหากินต่างท้องที่ทำให้ขาดสอบ ขาดความต่อเนื่องในการลงทะเบียนเรียน เป็นผลกระทบต่อการจบการศึกษาตามหลักสูตร
๓. พื้นที่ของอำเภอมีอาณาเขตกว้างไกล มีภูเขาสลับซับซ้อน ยังไม่มีคู่สายโทรศัพท์เข้าไปถึง เป็นอุปสรรคในการต่อเชื่อมระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน






ทิศทางการพัฒนาสถานศึกษาในอนาคต
          ด้านผู้เรียน
๑. เน้นการพัฒนาผู้เรียนโดยองค์รวมทั้ง    ด้านได้แก่ ด้านจิตวิญญาณ อารมณ์ สติปัญญาคิดเป็นและสุขภาพร่างกายที่ดี
๒.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ รักการอ่านและพัฒนาตนเองโดยการศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
๓.  บูรณาการกิจกรรมที่ฝึกให้นักเรียนรู้จักการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์  มีความคิดสร้างสรรค์สู่ทุกสาระการเรียนรู้
๔.  จัดกิจกรรมที่สอดแทรกในเรื่องด้านศิลปะ  ดนตรี กีฬา  โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมทุกโครงการ  เน้นการจัดตั้งชมรมตามความต้องการของผู้เรียน        
๕.  ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนแสดงความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ และสร้างทีมงานอย่างเป็นรูปธรรม
๖. ส่งเสริมกิจกรรมสร้างจิตสำนึกให้มีจิตสาธารณะเกิดกับนักเรียนอย่างยั่งยืน

ด้านครูผู้สอน
พัฒนารูปแบบการพัฒนาครูอย่างมีเป้าหมาย ทำอย่างต่อเนื่อง จนมีคุณภาพสูง ในด้านวิสัยทัศน์องค์กรและส่วนบุคคล การคิดบวก การทำงานเป็นทีม ทักษะการสอน  มีความสามารถ ในการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน การร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์กร การก้าวสู่เป็นครูมืออาชีพ และ เป็นนักจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ด้านผู้บริหาร
พัฒนาระบบการบริหารโดยใช้การบริหารแบบองค์รวม มีระบบโครงสร้างการบริหารงานเป็นกลุ่มงาน คณะครูร่วมกันคิดและตัดสินใจร่วมกัน ดึงภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมให้มากขึ้น เน้นการทำให้ กศน.อำเภอบางสะพานเป็นองค์กรแห่งความสุข เป็นองค์กรมีชีวิตและเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่สามารถจัดการความรู้จากข้างนอกและข้างใน ภายใต้ระบบการประกันคุณภาพสถานศึกษาเพื่อนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้

ด้านหลักสูตรของสถานศึกษา
พัฒนาหลักสูตรให้มีลักษณะที่ยืดหยุ่น สอดคล้องตามสถานการณ์ และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างหลากหลาย

ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนา
๑. สถานศึกษาควรจัดให้มีการประเมินและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่นอย่างต่อเนื่องให้เหมาะสมกับผู้เรียน สนองความต้องการของผู้เรียนและชุมชนเพื่อที่จะสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
๒. ควรส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถานศึกษากับภาคีเครือข่าย ชุมชนโดยการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสถานศึกษาให้ชุมชนได้รับรู้อย่างต่อเนื่องด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
. ควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้เข้ารับการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาครูให้นำความรู้มาปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔. สถานศึกษาควรนำผลการประเมินการปฏิบัติงานของทุกฝ่าย ทุกงานมาใช้ปรับปรุงพัฒนางานอย่างเป็นระบบมากขึ้น
๕. สถานศึกษาควรเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง
๖. สถานศึกษาควรส่งเสริมสนับสนุนการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีที่ทันสมัย สื่อและกิจกรรมที่เหมาะสมมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้น
๗. ส่งเสริมการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ปลูกฝังให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของความประหยัด ความมีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิตอย่างจริงจัง



คณะผู้จัดทำ

ที่ปรึกษา
          นายเรืองฤทธิ์     ชมพูผุดผ่อง                ผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
          นางโกศล         หลักเมือง                   รองผู้อำนวยการ กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นางศรีสง่า        โภคสมบัติ                  ผอ.กศน.อำเภอบางสะพาน    
          นางมณีรัตน์      อัจริยพันธกุล              ศึกษานิเทศก์ กศน.จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นายวรพงษ์       พูลลาภ                     ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา
                                                กศน.อำเภอบางสะพาน

                  
คณะทำงาน
          นายปฐมพร                ธัมมาภิรัตตระกูล          ครูผู้ช่วย
          นายมณี                    ปัตเมฆ                     พนักงานพิมพ์ดีด ระดับ ส ๓
          นางสาวทัณฑิมา           สุขเกษม                    ครูอาสาสมัคร
          นางสาวอรุณรัตน์          จิตรมั่น                     ครูอาสาสมัคร
          นายกำจัฐ                  กว้างขวาง                  ครู กศน.ตำบลกำเนิดนพคุณ
          ว่าที่ร้อยตรีหญิงเครือวัลย์  มากเต                     ครู กศน.ตำบลชัยเกษม
          นางสาวมุทิตา              นันทจินดา                 ครู กศน.เทศบาลกำเนิดนพคุณ
          นางสาวงามเพ็ญ           เจริญชีพ                             ครู กศน.ตำบลธงชัย
          นางสุชาวดี                 ใบภูทอง                    ครู กศน.ตำบลพงศ์ประศาสน์
          นางภารณี                  ก้านเหลือง                 ครู กศน.ตำบลแม่รำพึง
          นางสาวปาฤษา            อัตถาวะระ                 ครู กศน.ตำบลร่อนทอง
          นางสาวสุปรวีณ์            ศรีเลี่ยน                    ครู ศรช.ตำบลทองมงคล
          นางนันทิดา                ตราทอง                    บรรณารักษ์อัตราจ้าง
          นางธิดา                    กลิ่นหอม                   เจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูล

รวบรวมและจัดพิมพ์
          นายปฐมพร                ธัมมาภิรัตตระกูล          ครูผู้ช่วย