บทที่ ๓
ผลการประเมินตนเอง
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพานได้ประเมินตนเองตามมาตรฐาน
และตัวบ่งชี้ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน
๖ มาตรฐาน ๒๖ ตัวบ่งชี้ ผลการประเมินดังนี้
มาตรฐานที่
๑ คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตัวบ่งชี้
|
น้ำหนัก
(คะแนน
|
ระดับคุณภาพ |
|
คะแนนที่ได้ |
ระดับคุณภาพ |
||
ตัวบ่งชี้
๑.๑ ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
|
๓
|
๒.๘๑
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๑.๒ ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์
|
๓
|
๒.๙๘
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๑.๓ เรียนมีความใฝ่รู้และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
|
๓
|
๒.๙๑
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๑.๔ ผู้เรียน คิดเป็น/ทำเป็น
|
๓
|
๒.๘๕
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๑.๕ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน
|
๑๐
|
..............
|
.............
|
ตัวบ่งชี้
๑.๖ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนการศึกษาต่อเนื่อง
|
๕
|
๕.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๑.๗ ผู้เรียนมีงานทำหรือมีรายได้เสริม
มีทักษะในการทำงาน สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และมีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
|
๕
|
๕.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๑.๘ ความพึงพอใจต่อการให้บริการการศึกษาตามอัธยาศัย
|
๓
|
๒.๗๒
|
ดีมาก
|
ผลรวมของคะแนน
|
๓๕
|
............
|
............
|
ผลการประเมินตนเองภายในสถานศึกษา
มาตรฐานที่ ๑ คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ
ได้คะแนนคุณภาพ ............ ระดับคุณภาพ ดี ผลการประเมินตนเองดังกล่าว
เกิดจากความตระหนักและความพยายามในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษา
ดังต่อไปนี้
ข้อมูลความตระหนัก
สถานศึกษาจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
โดยกำหนดเป็นพันธกิจและนโยบายในการจัดการศึกษา
ที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน/ผู้รับบริการเป็นผู้ใฝ่รู้ มีความรู้ตามหลักสูตร
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข ปรับรูปแบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรี
กีฬา จัดกิจกรรมรณรงค์ ต่อต้าน
ป้องกัน
แก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
และมีการถ่ายทอดนโยบายดังกล่าวให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ตระหนักและดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน
ให้มีรูปแบบหลากหลายเหมาะสมกับสภาพและความต้องการของผู้เรียน
มีการพัฒนาหลักสูตรและจัดการศึกษาให้มีวิธีเรียนที่หลากหลาย และส่งเสริมให้ผู้เรียนรู้จักคิด ตัดสินใจ มีการใช้วิธีวัดผลที่หลากหลาย
โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้จักแสวงหาคำตอบด้วยตนเองผ่านวิธีเรียนแบบต่างๆ เช่น
การเรียนรู้โดยการทำโครงงาน
เป็นต้น
สถานศึกษาจัดการศึกษาต่อเนื่อง โดยกำหนดแผนปฏิบัติการประจำปี ๒๕๕๗
มีการจัดทำหลักสูตรการจัดการศึกษาต่อเนื่องให้สอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน รวมทั้งมีการจัดทำโครงการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน
และการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชนที่เน้นอาชีพระยะสั้น
เป็นการจัดการศึกษาต่อเนื่องโดยพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของชุมชนในรูปแบบหลักสูตรระยะสั้น
๕๐ ชั่วโมงขึ้นไปตามความต้องการของผู้เรียน
สถานศึกษาจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
โดยมีนโยบายในการส่งเสริมให้ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้รับบริการให้มีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้
มีนิสัยรักการอ่าน ค้นคว้าติดตามข่าวสาร ข้อมูลหรือการอบรมจากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ
และนำความรู้ไปพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องรวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนทั้งในส่วนห้องสมุดประชาชน
กศน.ตำบล บ้านหนังสืออัจฉริยะและแหล่งเรียนรู้อื่นๆ
ข้อมูลความพยายาม
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
สถานศึกษาได้ดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการในพื้นที่บริการของสถานศึกษา
ได้แก่
๑.
โครงการประชาสัมพันธ์งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒. โครงการเทียบระดับการศึกษาในระดับสู.สุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓.
โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔.
โครงการพัฒนา กศนตำบลให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน
๕.
โครงการจัดการศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
๖. โครงการ กีฬา กศน.เกมส์ ครั้งที่ ๔ (สมุทรสาคร)
๗. โครงการมหกรรมกีฬา กศน.เกมส์ ครั้งที่ ๔ ชลบุรี
๘. โครงการพัฒนาทักษะด้านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
๙. โครงการอบรมลูกเสือวิสามัญต้านยาเสพติด
รุ่นที่ ๑
๑๐. โครงการวัยใสใส่ใจเพศศึกษาและโรคเอดส์
๑๑. โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
๑๒.
โครงการอบรมคุณธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนเพื่อความรักและความสามัคคี
๑๓. โครงการ กศน.สัญจร ๒๕๕๗ : มหกรรมวิทยาศาสตร์และอาชีพสู่อาเซียน อำเภอบางสะพาน
๑๔. โครงการ
สุดยอด กศน. ปี ๒ ระดับภาคกลาง
๑๕. โครงการ
สุดยอด กศน. ปี ๒ รอบ Audition ระดับภาคกลาง
นอกจากนี้ สถานศึกษา
ยังมีความพยายามที่จะจัดหาและพัฒนาสื่อ รวมทั้งกระจายสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ
ที่อยู่นอกเหนือตำราในห้องเรียน กระจายไปยัง กศน.ตำบล ชุมชน
ผ่านภาคีเครือข่ายเพื่อให้ผู้เรียนและประชาชนเกิดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างต่อเนื่อง การส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู
กศน.ตำบล นำปัญหาที่ได้จากการจัดการเรียนการสอน
หรือบันทึกหลังสอนมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนโดยการทำวิจัยในชั้นเรียนและการประชุมปรึกษาหารือหาแนวทางแก้ปัญหาร่วมกัน
การศึกษาต่อเนื่อง
สถานศึกษาได้ดำเนินโครงการต่างๆ
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการในพื้นที่บริการของสถานศึกษา ได้แก่ โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน โครงการจัดการศึกษาอาชีพเพื่อการมีงานทำ โครงการการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต
โครงการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงฯลฯ
นอกจากนั้น
ยังสอดแทรกกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนให้เห็นคุณค่าที่ดีงามของวัฒนธรรมไทยและประเพณีไทย
และส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าร่วมสืบทอดประเพณีไทย เช่น วันลอยกระทง วันเด็ก วันสงกรานต์
วันสำคัญทางศาสนา เป็นต้น
การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษาได้ดำเนินโครงการต่างๆ
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการในพื้นที่บริการของสถานศึกษา
ได้แก่ โครงการบ้านหนังสือสู่ชุมชนโครงการส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้
โครงการวันรักการอ่านโครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน
โครงการส่งเสริมความรู้สู่ชุมชนเพื่อนักศึกษา โครงการส่งเสริมการใช้แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
และเน้นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการพัฒนา กศน.ตำบล
ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตและ โครงการพัฒนา กศน.ตำบลให้เป็นศูนย์กลางการสร้างโอกาสและกระจายโอกาสทางการศึกษาให้กับประชาชนในชุมชน และจัดนิทรรศการในงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวันพระราชสมภพ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๗ ณ
ศาลาเอนกประสงค์ที่ว่าการอำเภอบางสะพาน
อำเภอบางสะพาน
สถานศึกษา
ยังได้มีระบบการควบคุม ตรวจสอบการปฏิบัติงานผ่านระบบการควบคุมภายใน
โครงการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และมีการจัดโครงการพัฒนาบุคลากรเพื่อประสิทธิภาพในการจัดการศึกษานอกโรงเรียน โครงการนิเทศการจัดการศึกษา และมีงานวิจัยรองรับ
ได้แก่ งานวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
งานวิจัยของการศึกษาต่อเนื่อง
รวมทั้งโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สู่สถานศึกษาพอเพียงเพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
หลักฐานการประกอบการดำเนินงาน
-
แผนปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๕๗
-
แบบบันทึกข้อมูลผู้เรียนรายบุคคล
-
แบบประเมินคุณธรรมจริยธรรมนักศึกษา
-
รายงานการทำกิจกรรม กพช.ของผู้เรียน
-
แฟ้มสะสมงาน/รายงาน
-
โครงงาน
-
รายงานผลการเรียน
-
รายงานผลการดำเนินงานของครู กศน.ตำบล
-
รายงานผู้จบหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง
-
หลักสูตรสถานศึกษา
-
หลักสูตรท้องถิ่น
-
รายงานผลการดำเนินงานแต่ละหลักสูตร/กิจกรรม
-
ภาพถ่ายกิจกรรม
-
แบบประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ
-
สถิติผู้ใช้บริการการศึกษาตามอัธยาศัย
-
ผลงานวิจัย
สรุปผลการประเมินตนเองในมาตรฐานที่ ๑
จากการประเมินตนเองของสถานศึกษาในมาตรฐานที่
๑ พบว่าสถานศึกษา บรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จของมาตรฐานที่ ๑
ที่กำหนดไว้ โดยมีจุดเด่น จุดควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการพัฒนา ดังนี้
จุดเด่น
การศึกษาขั้นพื้นฐาน สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาครบทุกหลักสูตรที่เปิดสอน
มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อจัดทำเอกสารการเรียนการสอนในวิชาเลือก
มีหลักสูตรท้องถิ่นซึ่งบูรณาการสภาพปัญหาความต้องการและภูมิปัญญาท้องถิ่น และนำหลักสูตรสถานศึกษาไปพัฒนาผู้เรียน
มีการพัฒนา กศน.ตำบลอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับนักศึกษาในตำบล ครูและบุคลากรทางการศึกษามีความสามารถในการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักการจัดการศึกษานอกระบบ
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ดูแลติดตามผู้เรียน รวมทั้งมีการพัฒนาบุคลากร
กศน.อำเภอบางสะพาน อย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า
๒๐ ชั่วโมงต่อปี เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการสอนมากขึ้น และมีการพัฒนาผู้เรียนทางวิชาการโดยการสอนเสริม ค่ายวิชาการโดยวิทยากรที่มีความรู้
มีคุณวุฒิในวิชาหลัก เช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์
เป็นต้น
การศึกษาต่อเนื่อง
สถานศึกษามุ่งพัฒนา ผู้เรียน/ผู้รับบริการมีความรู้ตามหลักสูตร มีการถ่ายทอด
นโยบายดังกล่าวให้ผู้ปฏิบัติงานทุกคนได้ตระหนักและดำเนินการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นของผู้เรียน
พัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลาย โดยเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการ การจัดทำหลักสูตร การเป็นวิทยากร การร่วมสรรหาวิทยากรจากชุมชน มีการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมอาชีพทั้งด้านเกษตรกรรม คหกรรม อุตสาหกรรม
การบริการตามบริบทความต้องการของแต่ละชุมชน ถึง ๔๘ โครงการ ๒๑ อาชีพ ใน ๗ ตำบล ๑
เทศบาล
ทำให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมที่ได้รับในระดับดีมาก
การศึกษาตามอัธยาศัย สถานศึกษารวมถึงห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอบางสะพาน มีการส่งเสริมการอ่านให้กับนักศึกษาโดยการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เช่น
กิจกรรมวันเด็กของทุกปี
การให้บริการของห้องสมุด
การส่งเสริมให้มีมุมหนังสือในชุมชน
การประกวดการส่งเสริมการอ่าน
โครงการบ้านหนังสือสู่ชุมชน โครงการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ในชุมชน โครงการส่งเสริมความรู้สู่ชุมชนเพื่อนักศึกษา โครงการส่งเสริมการใช้แหล่งการเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัยใน กศน.ตำบล โดยมีกิจกรรมส่งเสริมการอ่านในทุกตำบล
มีบ้านหนังสืออัจฉริยะ ๓๓ แห่ง
จัดนิทรรศการในงานเฉลิมพระเกียรติพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เนื่องในวันแม่แห่งชาติ ๑๒ สิงหาคม
๒๕๕๗ ที่ผ่านมา ณ
ศาลาเอนกประสงค์ที่ว่าการอำเภอบางสะพาน
อำเภอบางสะพาน และส่งเสริมสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้ในอำเภอบางสะพาน ให้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นในทุกชุมชน ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายและสถาบันครอบครัว ชุมชน
ได้จัดกิจกรรมและเผยแพร่กิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านและจัดหาสื่อส่งเสริมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านที่ทันสมัยให้แก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย
จุดควรพัฒนา
- ในส่วนที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วน คือ
การให้ครูผู้สอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในวันอาทิตย์
เพื่อแก้ปัญหานักศึกษาขาดเรียน เวลาในการมาเรียนที่ไม่ตรงกัน
ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา
๒๕๕๗ เป็นต้นไป
- ในส่านที่ต้องปรับปรุง คือ
การเปิดกลุ่มอาชีพยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้เรียนในบางพื้นที่
และพยายามจัดอาชีพตั้งแต่ไตรมาสที่ ๑
และ ๒ ของปีงบประมาณ หากแต่งบประมาณมีจำกัด
- การมุ่งเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
-
พัฒนาหลักสูตรให้มีความยืดหยุ่นและหลากหลายรองรับความต้องการมากขึ้น เน้นหลักสูตรที่สามารถฝึกปฏิบัติในชุมชนได้เอง
- วางระบบติดตามดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้เข้มข้นขึ้น
เน้นการจัดการเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนรายบุคคลมากขึ้น เช่น
นักศึกษาที่ประกอบอาชีพไม่มีเวลามาเรียน
มาตรฐานที่
๒ คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ
ตัวบ่งชี้
|
น้ำหนัก
(คะแนน
|
ระดับคุณภาพ |
|
คะแนนที่ได้ |
ระดับคุณภาพ
|
||
ตัวบ่งชี้
๒.๑ คุณภาพของหลักสูตร
|
๔
|
๔.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๒.๒ คุณภาพของครู/ผู้สอน
|
๔
|
๓.๒๐
|
ดี
|
ตัวบ่งชี้
๒.๓
คุณภาพการจัดการเรียนการสอนของครูและผู้สอนที่เน้นผู้เรียน/ผู้รับบริการเป็นสำคัญ
|
๔
|
๔.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๒.๔ คุณภาพผู้สอน/วิทยากรสอนการศึกษาต่อเนื่อง
|
๓
|
๓.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๒.๕ คุณภาพสื่อที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน/ผู้รับบริการ
|
๓
|
๓.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๒.๖ คุณภาพการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย
|
๔
|
๔.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๒.๗ การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้
|
๓
|
๓.๐๐
|
ดีมาก
|
ผลรวมของคะแนน
|
๒๕
|
๒๔.๒๐
|
ดีมาก
|
ผลการประเมินตนเองภายในสถานศึกษา
มาตรฐานที่ ๒ คุณภาพผู้เรียน/ผู้รับบริการ ได้คะแนนคุณภาพ ๒๔.๒๐
ระดับคุณภาพ ดีมาก
ผลการประเมินตนเองดังกล่าว
เกิดจากความตระหนักและความพยายามในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษา
ดังต่อไปนี้
ข้อมูลความตระหนัก
สถานศึกษากำหนดนโยบายในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ รักการอ่านและสามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
ส่งเสริมให้ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสู่ประชาคมอาเซียนและส่งเสริมการพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ตลอดจน ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เน้นการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายที่เข้ามาร่วมจัดและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
ข้อมูลความพยายาม
สถานศึกษาได้กำหนดโครงการต่างๆ
เพื่อรองรับการนำไปสู่คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ ได้แก่
๑.
โครงการประชาสัมพันธ์งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒. โครงการเทียบระดับการศึกษาในระดับสู.สุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓.
โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔.
โครงการพัฒนา กศนตำบลให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน
๕. โครงการจัดการศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
๖. โครงการ กีฬา กศน.เกมส์ ครั้งที่ ๔ (สมุทรสาคร)
๗. โครงการมหกรรมกีฬา กศน.เกมส์ ครั้งที่ ๔ ชลบุรี
๘. โครงการพัฒนาทักษะด้านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
๙. โครงการอบรมลูกเสือวิสามัญต้านยาเสพติด
รุ่นที่ ๑
๑๐.
โครงการวัยใสใส่ใจเพศศึกษาและโรคเอดส์
๑๑.
โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
๑๒.
โครงการอบรมคุณธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนเพื่อความรักและความสามัคคี
๑๓.
โครงการ กศน.สัญจร ๒๕๕๗ : มหกรรมวิทยาศาสตร์และอาชีพสู่อาเซียน
อำเภอบางสะพาน
๑๔.
โครงการพัฒนาบุคลากร
๑๕.
โครงการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๑๖.
โครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร กศน.อำเภอบางสะพาน
เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
๑๗. โครงการการประกันคุณภาพการศึกษา
๑๘. โครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ เป็นต้น
นอกจากนี้ยังได้จัดกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ดังนี้
๑.
มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เหมาะสมตามความต้องการของผู้เรียน
๒.
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีการทำโครงงานตามความถนัดและความสนใจโดยการวิเคราะห์ร่วมกัน
๓. มีการส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ที่หลากหลายด้วยตนเองผ่าน
กรต. ใบงาน บันทึกการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาชาวบ้าน
การจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ
๔.
มีการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดโดยผู้เรียน เช่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ค่ายวิชาการ การจัดกิจกรรม กพช. การฝึกเขียนโครงการ การศึกษาดูงาน
๕.
มีการวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้ของผู้เรียนและนำผลไปใช้พัฒนาผู้เรียน
หลักฐานการประกอบการดำเนินงาน
-
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
-
หลักสูตรสถานศึกษา/หลักสูตรท้องถิ่น
-
รายงานการประชุมการพัฒนาหลักสูตรและการนำเสนอหลักสูตรกับคณะกรรมการสถานศึกษา
-
รายงานผลการดำเนินงานแต่ละหลักสูตร/กิจกรรม
-
แผนการจัดการเรียนรู้ครู/วิทยากร
-
บันทึกหลังสอน
-
วิจัยชั้นเรียน
-
รายงานการประเมินหลักสูตร
-
บอร์ดโครงสร้างหลักสูตร
-
รายงานผลผู้จบการศึกษา
-
รายงานผลการพัฒนาหลักสูตร
-
ผลการประเมินครู/วิทยากร
-
แฟ้มสะสมงานครู
-
แบบสำรวจความต้องการพัฒนาตนเองของครู
-
แผนพัฒนาบุคลากร
-
รายงานสรุปผลการพัฒนาบุคลากรรายคนและภาพรวม
-
เกียรติบัตร
วุฒิบัตร สมุดความดี
-
แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน
-
ทำเนียบสื่อ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญา
-
แบบประเมินสื่อ
-
ชุมชนแห่งการเรียนรู้
-
ภาพกิจกรรม
สรุปผลการประเมินตนเองในมาตรฐานที่
๒
จากการประเมินตนเองของสถานศึกษาในมาตรฐานที่
๒ พบว่าสถานศึกษา บรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จของมาตรฐานที่ ๒ ที่กำหนดไว้
โดยมีจุดเด่น จุดควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการพัฒนา
ดังนี้
จุดเด่น
สถานศึกษามีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ให้เหมาะสมกับบริบทของผู้เรียนและท้องถิ่น มีรายวิชาและกิจกรรมที่หลากหลายให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ และส่งเสริมให้คณะครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองความถนัด
และความสามารถของผู้เรียน และพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ตลอดทั้งการนำแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการเรียนการสอน โดยมีเป้าหมายในการจัดทำอย่างน้อย ๒๑
หลักสูตร
กระบวนการดำเนินการแบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ๑) ขั้นการวางแผน มีการประชุมบุคลากรร่วมวางแผนงาน
สำรวจความต้องการในการจัดหลักสูตรสถานศึกษา และผลการวิเคราะห์การประเมินหลักสูตร
สภาพปัญหา ข้อเสนอแนะจากการดำเนินงานในปี
๒๕๕๖ ที่ผ่านมาเป็นข้อมูลสารสนเทศในการดำเนินการ ๒) ขั้นการดำเนินการ โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการจัดทำหลักสูตร จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและรวบรวมเป็นรูปเล่ม
ประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา และประกาศใช้หลักสูตร ๓) ขั้นตรวจสอบ โดยการนิเทศ ติดตามผลและประเมินผลการใช้หลักสูตร และ ๔)
ขั้นปรับปรุงพัฒนา
โดยสรุปผลการจัดทำโครงการและนำผลมาใช้ในการจัดทำโครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในปี
๒๕๕๗ ผลสำเร็จที่เกิดขึ้น ทำให้สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
รวมทั้งสนองนโยบายของสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน ๒๑
หลักสูตรโดยได้รับคำรับรองจากคณะกรรมการสถานศึกษา
ส่งผลให้สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีงานทำ
มีรายได้เสริม และคณะครูมีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ นอกจากนี้บุคลากร
กศน.อำเภอบางสะพานทุกคน ยังได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยการเข้ารับการอบรม
ประชุมร่วมกับหน่วยงานต้นสังกัดและภาคีเครือข่าย อย่างน้อย ๒๐ ชั่วโมงต่อปี
จุดควรพัฒนา
๑. จุดควรพัฒนาเร่งด่วน คือ ครู
กศน.อำเภอบางสะพานยังมีใบประกอบวิชาชีพไม่ครบทุกคน ซึ่งได้ให้ครูที่ทำการสอนทุกคนศึกษาความรู้
เพื่อให้ได้วุฒิที่สามารถขอใบประกอบวิชาชีพครูได้
๒.
วิทยากรผู้สอนการศึกษาต่อเนื่องซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นบางท่าน
ยังไม่มีวุฒิบัตรหรือเกียรติบัตรที่ได้รับการยกย่องตามสาขาที่สอนทุกคน
แต่ใช้คำรับรองประสบการณ์จากผู้นำชุมชนที่วิทยากรอยู่
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
๑.
หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการจัดโครงการอบรมพัฒนาวิทยากรผู้สอนการศึกษาต่อเนื่องเพื่อให้มีวุฒิบัตร
๒.
ส่งเสริมการเข้าศึกษาต่อในระดับ ป.บัณฑิตและสอบเทียบมาตรฐานวิชาชีพครูเพื่อขอรับใบประกอบวิชาชีพครู
มาตรฐานที่ ๓ การบริหารการศึกษา
ตัวบ่งชี้
|
น้ำหนัก
(คะแนน)
|
ระดับคุณภาพ
|
|
คะแนนที่ได้
|
ระดับคุณภาพ
|
||
ตัวบ่งชี้ 3.๑ คุณภาพของการบริหารสถานศึกษา
|
๒
|
๒.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้ 3.๒ ระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ
|
๒
|
๒.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้ 3.๓ ผลการบริหารความเสี่ยง
|
๒
|
๒.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้ 3.๔ ผลการปฏิบัติหน้าที่ของผู้บริหารสถานศึกษา
|
๒
|
๒.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
3.๕ ผลการปฏิบัติตามบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษา
|
๒
|
๒.๐๐
|
ดีมาก
|
ผลรวมของคะแนน
|
๑๐
|
๑๐.๐๐
|
ดีมาก
|
ผลการประเมินตนเองภายในสถานศึกษา มาตรฐานที่ ๓
การบริหารการศึกษา ได้คะแนนคุณภาพ ๑๐.๐๐ ระดับคุณภาพ ดีมาก ผลการประเมินตนเองดังกล่าว
เกิดจากความตระหนักและความพยายามในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษา
ดังต่อไปนี้
ข้อมูลความตระหนัก
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน
มุ่งมั่นบริหารจัดการเพื่อให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลโดยมีนโยบาย
ส่งเสริมการบริหารและจัดการศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน มีการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
และแผนปฏิบัติการประจำปี ให้สอดคล้องกับโครงการ/กิจกรรม
โดยใช้ข้อมูลสารสนเทศที่มีอยู่ในการบริหารจัดการ
มีการนิเทศติดตามผลโดยคณะกรรมการนิเทศของสถานศึกษาและชุมชน
ใช้แนวทางการปฏิบัติงานโดยเปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น ร่วมทำ
ร่วมแก้ไข ร่วมรับผิดชอบ
แก้ปัญหาร่วมกันในการประชุมแต่ละครั้ง นำระบบสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ตมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อให้เกิดความคล่องตัว
เน้นให้บุคลากรได้มีโอกาสพัฒนาและมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน รู้จักการแก้ปัญหาโดยใช้หลักการวิจัย
ข้อมูลความพยายาม
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอบางสะพาน มีการบริหารงานโดยมีการวางแผนการบริหารงาน
จัดกิจกรรมตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ ปรัชญา
วิสัยทัศน์ กลยุทธ์
จุดเน้นของต้นสังกัดและสถานศึกษาเพื่อให้งานมีคุณภาพมุ่งสู่มาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ครอบคลุมตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารทั้ง ๔ ด้าน
ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านงบประมาณ
ด้านวิชาการ
และด้านบริหารทั่วไป
มีโครงสร้างการบริหารงาน
การมอบหมายความรับผิดชอบตรงตามความสามารถและความถนัด
มีการกำกับติดตามผลทำให้บุคลากรทำงานตามที่ได้รับมอบหมายเสร็จตามกำหนด
รวมทั้งบุคลากรมีความสามารถในการประสานงานให้เกิดกระบวนการเรียนรู้โดยอาศัยเครือข่ายในชุมชน
มีการนำระบบฐานข้อมูลมาใช้ในการบริหารจัดการ เช่น โปรแกรมระบบบุคลากร
โปรแกรมทะเบียนพัสดุ โปรแกรมบริหารงบประมาณ โปรแกรมบริหารงานห้องสมุด PLS
ฐานข้อมูลตำบล โปรแกรมรับส่งหนังสือราชการ โปรแกรมทะเบียนนักศึกษา ITw
โปรแกรมประเมินเทียบระดับการศึกษา, ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายห้องสมุด
, โปรแกรมระบบสารบรรณ , โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูล
SPSS , โปรแกรมวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ เป็นต้น ตลอดทั้งมีประชุมประจำสัปดาห์(KM) การประชุมภาคีเครือข่ายประจำปีอย่างน้อย ปีละ
๒ ครั้งเป็นประจำ
ซึ่งสถานศึกษาได้กำหนดโครงการต่างๆ
เพื่อรองรับการนำไปสู่คุณภาพการบริหารจัดการตามกลยุทธ์สถานศึกษาทั้งหมด ได้แก่
กลยุทธที่
๑. การศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้บริการ
กลยุทธที่
๒.
จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน/ผู้รับบริการอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิตและเพื่อการมีงานทำโครงการจัดการศึกษาต่อเนื่องเพื่อการมีงานทำ
กลยุทธที่
๓. พัฒนาแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาเพื่อเป็นฐานความรู้ของชุมชน
กลยุทธที่
๔. ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายจัดการศึกษา
กลยุทธที่
๕. พัฒนาระบบบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ
สรุปผลการประเมินตนเองในมาตรฐานที่ ๓
จากการประเมินตนเองของสถานศึกษาในมาตรฐานที่ ๓
พบว่าสถานศึกษา บรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จของมาตรฐานที่ ๓
ที่กำหนดไว้ โดยมีจุดเด่น จุดควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการพัฒนา ดังนี้
จุดเด่น
ผู้บริหารสถานศึกษามีความรู้
ความสามารถ มีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารงาน มีการวางแผนการบริหารงาน
จัดกิจกรรมตามนโยบาย ยุทธศาสตร์ ปรัชญา วิสัยทัศน์ กลยุทธ์
จุดเน้นของต้นสังกัดและสถานศึกษาเพื่อให้งานมีคุณภาพมุ่งสู่มาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ครอบคลุมตามบทบาทหน้าที่ของผู้บริหารทั้ง ๔
ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านวิชาการ
และด้านบริหารทั่วไป เน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร
คณะกรรมการสถานศึกษาและชุมชน ยึดหลักประชาธิปไตยในการอยู่ร่วมกัน
ส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนา กศน.ตำบลอย่างต่อเนื่องโดยการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์
ครุภัณฑ์ สื่อการเรียนการสอนที่จำเป็นให้กับทุก กศน.ตำบล
ส่งเสริมให้บุคลากรได้รับการพัฒนาตนเอง
มีการนำระบบการประกันคุณภาพมาใช้ในการบริหารจัดการงานใน กศน.อำเภอบางสะพานเพื่อมุ่งสู่คุณภาพอย่างแท้จริง
จุดควรพัฒนา
-
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
-
มาตรฐานที่
๔ การประกันคุณภาพการศึกษา
ตัวบ่งชี้
|
น้ำหนัก
(คะแนน)
|
ระดับคุณภาพ
|
|
คะแนนที่ได้
|
ระดับคุณภาพ
|
||
ตัวบ่งชี้ ๔.๑
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
|
๕
|
๕.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้ ๔.๒ การประเมินคุณภาพภายในโดยต้นสังกัด
|
๕
|
๔.๑๗
|
ดี
|
ผลรวมของคะแนน
|
๑๐
|
๙.๑๗
|
ดีมาก
|
ผลการประเมินตนเองภายในสถานศึกษา
มาตรฐานที่ ๔ การประกันคุณภาพการศึกษา ได้คะแนนคุณภาพ
๙.๑๗ ระดับคุณภาพ ดีมาก ผลการประเมินตนเองดังกล่าว
เกิดจากความตระหนักและความพยายามในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษา
ดังต่อไปนี้
ข้อมูลความตระหนัก
สถานศึกษาได้กำหนดพันธกิจในการดำเนินการประกันคุณภาพสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาที่กำหนด
และมุ่งพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้มีความรู้ความสามารถทั้งด้านวิชาการ
การบริหารจัดการและการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย
เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน/ผู้รับบริการที่แตกต่างกัน
มีการนำหลักการบริหารแบบมีส่วนร่วมและหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารสถานศึกษา
ยึดหลักการครองตน ครองคน ครองงานในการบริหารบุคคล
มีการจัดทำโครงสร้างความรับผิดชอบตามกลุ่มงานที่ชัดเจน
ข้อมูลความพยายาม
สถานศึกษา
ได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
และจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี ๒๕๕๗ ที่มุ่งเน้นสู่คุณภาพของสถานศึกษา โดยการวิเคราะห์นโยบาย จุดเน้น
มาตรฐานตัวบ่งชี้ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน
กศน. กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดที่เหมาะสม
มีการจัดทำโครงการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อรองรับการประกันภายในและภายนอกของสถานศึกษา วางระบบบริหารและสารสนเทศ ดำเนินการตามแผน
และมีการประเมินคุณภาพภายในโดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่
ผู้เรียน ผู้รับบริการ ครูและบุคลากร ผู้อำนวยการสถานศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษา
จัดทำโครงสร้างในการบริหารงาน
มอบหมายหน้าที่ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานอย่างเต็มความสามารถและเป็นไปตามศักยภาพของบุคลากร โดยปฏิบัติตามขั้นตอนเพื่อทำให้งานสำเร็จถูกต้องและมีประสิทธิภาพ มีการจัดระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการ
ตามกระบวนการทำงาน PDCA ทั้งการ วางแผน(P) การดำเนินงาน(D) การตรวจสอบ(C) และการปรับปรุงแก้ไข(A) รวมทั้งจัดทำรายงานผลการประเมินคุณภาพภายในเพื่อให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
สถานศึกษาได้กำหนดโครงการต่างๆ
เพื่อรองรับการนำไปสู่คุณภาพการจัดการศึกษา/การให้บริการ ได้แก่
โครงการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
โครงการพัฒนาบุคลากร กศน.อำเภอบางสะพาน
หลักฐานการประกอบการดำเนินงาน
๑.
แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา ๔ ปี (ฉบับปรับปรุง)
๒.
แผนปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๕๗
๓.
ผลการวิเคราะห์มาตรฐาน ตัวชี้วัด
๔.
คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
๕.
คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานประกันคุณภาพภายนอก
๖.
คู่มือประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
๗. ผลการปฏิบัติงานประจำปี ๒๕๕๗
๘. รายงานการประเมินตนเองปีงบประมาณ
๒๕๕๗
สรุปผลการประเมินตนเองในมาตรฐานที่
๔
จากการประเมินตนเองของสถานศึกษาในมาตรฐานที่
๔ พบว่าสถานศึกษา บรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จของมาตรฐานที่ ๔ ที่กำหนดไว้
โดยมีจุดเด่น จุดควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการพัฒนา
ดังนี้
จุดเด่น
สถานศึกษามีการกำหนดนโยบาย
แผนการดำเนินงานที่มีตัวบ่งชี้ความสำเร็จของโครงการ/กิจกรรม มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปีที่เป็นปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล
กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงาน กศน. ใช้หลักการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
ทำให้ผลงานมีคุณภาพ
ส่งผลให้สถานศึกษามีผลการประเมินตนเองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปีนอกจากนี้ บุคลากรภายในสถานศึกษามีความรัก ความสามัคคี
ให้ความร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลในการปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จ
จุดควรพัฒนา
๑.
การได้รับการประเมินภายในจากต้นสังกัด
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
๑.
ต้นสังกัดควรมีการประเมินคุณภาพภายในเป็นประจำทุกปีเพื่อเป็นการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา
มาตรฐานที่ ๕ อัตลักษณ์ของสถานศึกษา
ตัวบ่งชี้
|
น้ำหนัก
(คะแนน)
|
ระดับคุณภาพ
|
|
คะแนนที่ได้
|
ระดับคุณภาพ
|
||
ตัวบ่งชี้ 5.๑ ผลการพัฒนาให้บรรลุเป้าหมายตามปรัชญา พันธกิจ
และวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษา
|
๕
|
๕.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้ 5.๒
ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
|
๕
|
๔.๐๐
|
ดี
|
ผลรวมของคะแนน
|
๑๐
|
๙.๐๐
|
ดีมาก
|
ผลการประเมินตนเองภายในสถานศึกษา
มาตรฐานที่ ๕ อัตลักษณ์ของสถานศึกษาได้คะแนนคุณภาพ ๙.๐๐
ระดับคุณภาพ ดีมาก
ผลการประเมินตนเองดังกล่าว
เกิดจากความตระหนักและความพยายามในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษา
ดังต่อไปนี้
ข้อมูลความตระหนัก
สถานศึกษาได้กำหนดแผนปฏิบัติการประจำปี
๒๕๕๗ ของสถานศึกษาโดยผู้บริหาร ครู
บุคลากร ชุมชนและคณะกรรมการสถานศึกษามีส่วนร่วม
มีการระบุเป้าหมายและกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
การดำเนินงานของสถานศึกษา และให้มีการกำหนดอัตลักษณ์สถานศึกษา “ใฝ่เรียนรู้”เพื่อให้สอดคล้องกับปรัชญาของสถานศึกษาที่ว่า
“กศน.อำเภอบางสะพาน
ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ภายใต้นโยบายส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่เรียนรู้
รักการอ่านและสามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
ข้อมูลความพยายาม
สถานศึกษาได้มีการจัดทำโครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้องกับปรัชญา
วิสัยทัศน์
พันธกิจของสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียน/ผู้รับบริการมีคุณลักษณะที่ดี
มีนิสัยใฝ่เรียนรู้โดยการมอบหมายงานผ่านใบความรู้ ใบงาน การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
การทำรายงาน โครงงาน การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
นอกจากนี้สถานศึกษาได้กำหนดโครงการต่างๆ
เพื่อให้การดำเนินงานของสถานศึกษาบรรลุเป้าหมายตามปรัชญา พันธกิจ
และวัตถุประสงค์การจัดตั้งสถานศึกษาได้แก่
๑.
โครงการประชาสัมพันธ์งานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒. โครงการเทียบระดับการศึกษาในระดับสู.สุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๓.
โครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๔.
โครงการพัฒนา กศนตำบลให้เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ตลอดชีวิตของชุมชน
๕.
โครงการจัดการศึกษาต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน
๖. โครงการ กีฬา กศน.เกมส์ ครั้งที่ ๔ (สมุทรสาคร)
๗. โครงการมหกรรมกีฬา กศน.เกมส์ ครั้งที่ ๔ ชลบุรี
๘. โครงการพัฒนาทักษะด้านการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
๙. โครงการอบรมลูกเสือวิสามัญต้านยาเสพติด
รุ่นที่ ๑
๑๐. โครงการวัยใสใส่ใจเพศศึกษาและโรคเอดส์
๑๑. โครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
๑๒. โครงการอบรมคุณธรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียนเพื่อความรักและความสามัคคี
๑๓. โครงการ กศน.สัญจร ๒๕๕๗ : มหกรรมวิทยาศาสตร์และอาชีพสู่อาเซียน อำเภอบางสะพาน
๑๔.
โครงการพัฒนาบุคลากร
๑๕.
โครงการประกันคุณภาพการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๑๖.
โครงการศึกษาดูงานเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร กศน.อำเภอบางสะพาน
เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
๑๗. โครงการการประกันคุณภาพการศึกษา
๑๘. โครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ เป็นต้น
หลักฐานการประกอบการดำเนินงาน
- แผนพัฒนาการศึกษา
- แผนปฏิบัติงานประจำปี
- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนฯ
-
คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินแผนพัฒนาการศึกษา
- รายงานการประชุมคณะกรรมการสถานศึกษา/บุคลากร
-
รายงานการวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมาย
ของสถานศึกษา
ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พรบ.กศน. นโยบาย กศน. และนโยบาย
สำนักงาน กศน.จังหวัด
-
แบบประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมต่อการดำเนินงานของสถานศึกษา
- ผลการดำเนินงานประจำปี
- รายงานการประเมินตนเอง
- รายงานการทบทวนแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- Best
Practice ของสถานศึกษา
สรุปผลการประเมินตนเองในมาตรฐานที่
๕
จากการประเมินตนเองของสถานศึกษาในมาตรฐานที่
๕ พบว่าสถานศึกษา บรรลุ ตามเป้าหมายความสำเร็จของมาตรฐานที่ ๕ ที่กำหนดไว้
โดยมีจุดเด่น จุดควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการพัฒนา
ดังนี้
จุดเด่น
สถานศึกษามีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานและจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีที่กำหนดปรัชญา
วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย กลยุทธ์ วัตถุประสงค์ที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พระราชบัญญัติการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย นโยบายของสำนักงาน กศน. รวมทั้งนโยบายการศึกษาของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
นอกจากนั้นโครงการ/กิจกรรมที่บรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการประจำปีเป็นโครงการ/กิจกรรมที่สนองตอบความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในอำเภอบางสะพานและนำไปสู่อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
จุดควรพัฒนา
ควรสร้างการยอมรับจากองค์กรภายนอกสถานศึกษาให้มากขึ้น
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
การจัดแสดงผลงานของนักศึกษาเพื่อให้ปรากฏต่อสาธารณชน
มาตรฐานที่ ๖ มาตรการส่งเสริม
ตัวบ่งชี้
|
น้ำหนัก
(คะแนน)
|
ระดับคุณภาพ
|
|
คะแนนที่ได้
|
ระดับคุณภาพ
|
||
ตัวบ่งชี้
๖.๑ ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน
รักษามาตรฐานและพัฒนาสู่ความยั่งยืน
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ
|
๕
|
๕.๐๐
|
ดีมาก
|
ตัวบ่งชี้
๖.๒
ผลที่เกิดจากการส่งเสริมการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชน
|
๕
|
๕.๐๐
|
ดีมาก
|
ผลรวมของคะแนน
|
๑๐
|
๑๐.๐๐
|
ดีมาก
|
ผลการประเมินตนเอง
ได้คะแนนคุณภาพ ๑๐.๐๐ ระดับคุณภาพ ดีมาก
ผลการประเมินตนเองดังกล่าว
เกิดจากความตระหนักและความพยายามในการดำเนินโครงการ/กิจกรรมของสถานศึกษา
ดังต่อไปนี้
ข้อมูลความตระหนัก
สถานศึกษามีการจัดกิจกรรมตามนโยบาย
จุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงาน กศน. เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ
เช่น
โครงการเทียบระดับของระดับการศึกษาขั้นสูงสุด (ยกระดับการศึกษา ม.๖ ใน ๘
เดือน) โครงการบ้านหนังสืออัจฉริยะ
โครงการศูนย์ฝึกอาชีพชุมชนและการเตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยผู้บริหาร
คณะกรรมการสถานศึกษา
ครูทุกคนตระหนักและเห็นความสำคัญของการทำงานร่วมกับเครือข่าย มุ่งเน้นประสานงานและสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายทุกระดับ
ทุกประเภทอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างความเข้าใจงานด้านการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำงานร่วมกันโดยจัดการศึกษาให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ
จัดรวบรวมข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและแหล่งเรียนรู้ชุมชน
จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อตอบสนองความต้องการการเรียนรู้ของบุคคลและชุมชน
และได้รับการส่งเสริม สนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์
อาคารสถานที่ งบประมาณ
บุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากชุมชนและเครือข่าย ด้านการรักษาเครือข่าย
สถานศึกษามีการยกย่องเชิดชูเกียรติเครือข่ายเพื่อเป็นการสร้างเสริมบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานระหว่างกัน
ข้อมูลความพยายาม
สถานศึกษามีแนวทางในการดำเนินงานโดยสำรวจข้อมูลพื้นฐานของแต่ละตำบลเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลในการวางแผนการจัดการศึกษา
จากนั้นวางแผนการดำเนินงานประจำปีปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการประเมินคุณภาพภายนอกและภายในโดยจัดทำแผน นโยบาย และกำหนดกิจกรรมร่วมกันระหว่าง
กศน.กับภาคีเครือข่าย
ให้ครอบคลุมพื้นที่ตามความต้องการของชุมชน
ใช้เครือข่ายมีส่วนร่วมในการทำงานให้บรรลุเป้าหมายภายใต้ข้อตกลงร่วมกัน
ซึ่งครู กศน.
ที่ปฏิบัติงานอยู่ประจำในพื้นที่ได้จัดทำทำเนียบเครือข่ายที่รับประโยชน์ร่วมกัน
สร้างความสัมพันธ์และประสานงานกับเครือข่ายอย่างต่อเนื่อง มีการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ
PDCA
ยกย่อง เชิดชูเกียรติ สร้างขวัญกำลังใจให้กับครู กศน. และภาคีเครือข่าย
และผลจากการทำงานร่วมกับเครือข่ายทำให้สถานศึกษาและ กศน.ตำบล
ทุกแห่งได้รับการส่งเสริม สนับสนุนด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่
งบประมาณ บุคลากรในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากชุมชนและเครือข่ายทำให้การดำเนินงานบรรลุมาตรฐานสถานศึกษาที่วางไว้
หลักฐานประกอบการดำเนินงาน
-
ทำเนียบภาคีเครือข่าย
- บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ของภาคีเครือข่ายที่ร่วมจัดการศึกษา
- คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวางแผนการดำเนินงานที่มีภาคีเครือข่ายร่วมเป็นคณะกรรมการ
- เอกสารรายงานการประชุมร่วมกับภาคีเครือข่ายในการวางแผนการดำเนินงานร่วมกัน
- ผลการทำงานร่วมกับเครือข่าย
- คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน
หนังสือเชิญที่แสดงว่าภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผลการดำเนินงาน
-
เอกสาร หลักฐาน ร่องรอย
ข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่ามีการส่งเสริมสนับสนุน ประสานการใช้ทรัพยากรร่วมกัน
- เอกสาร ประกาศเกียรติคุณ หนังสือขอบคุณ
หนังสือชมเชย
สรุปผลการประเมินตนเองในมาตรฐานที่
๖
จากการประเมินตนเองของสถานศึกษาในมาตรฐานที่
๖ พบว่าสถานศึกษา บรรลุ
ตามเป้าหมายความสำเร็จของมาตรฐานที่ ๖ ที่กำหนดไว้ โดยมีจุดเด่น
จุดควรพัฒนาและข้อเสนอแนะในการพัฒนา
ดังนี้
จุดเด่น
สถานศึกษามีภาคีเครือข่าย
ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลทุกตำบล เทศบาลทุกแห่ง โรงเรียน วัด องค์กรของรัฐ
องค์กรเอกชนและกลุ่มอาชีพต่างๆ
ที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนการดำเนินงานการจัดการศึกษาทั้งในด้านอาคารสถานที่
งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ วิทยากร ทำให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยดีและมีคุณภาพ
จุดควรพัฒนา
การประชุมภาคีเครือข่ายยังทำได้น้อยเมื่อเทียบกับภาระงานที่ต้องการทำ
ข้อเสนอแนะในการพัฒนา
ควรมีการประชุมภาคีเครือข่ายหลักทั้งอำเภอเพื่อสร้างความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ของ
กศน.ให้เครือข่ายทราบและวางแผนการทำงานร่วมกันอย่างน้อยปีละ ๒ ครั้ง