บทที่ ๒
ผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา
สถานศึกษาได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนปฏิบัติการประจำปี
โดยได้ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี และมีผลการดำเนินงานดังนี้
ทิศทางการดำเนินงานของสถานศึกษา
ปรัชญา
“คิดเป็น
ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น เน้นการเรียนรู้ตลอดชีวิต สู่วิถีชีวิตเศรษฐกิจพอเพียง”
วิสัยทัศน์
“กศน.อำเภอบางสะพาน
ส่งเสริมให้ประชาชนเป็นบุคคลใฝ่เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
เพื่อนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
พันธกิจ
๑.
จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้มีคุณภาพ
๒.
ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๓.
ส่งเสริมชุมชนให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
๔. มุ่งมั่นบริหารจัดการเพื่อให้สามารถดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๕.
ดำเนินการประกันคุณภาพสถานศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่กำหนด
๖. ปฏิบัติงานอื่นๆ
ที่ได้รับมอบหมาย
อัตลักษณ์
“
ใฝ่เรียนรู้”
เอกลักษณ์
“ทำงานเป็นทีม”
นโยบาย
๑. ส่งเสริมสนับสนุน
ให้ประชาชนในอำเภอบางสะพานได้รับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอย่างทั่วถึง
๒.
ส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีนิสัยใฝ่เรียนรู้ รักการอ่านและสามารถสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
๓.
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข
๔.
ปรับรูปแบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียนให้สอดคล้องกับบริบทของผู้เรียน
๕.
ส่งเสริมการจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้เรียนมีสุนทรียภาพด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา
๖. จัดสภาพแวดล้อมภายใน
กศน.ตำบลให้สะอาด สวยงาม เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้
๗.
ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
๘. จัดกิจกรรมรณรงค์ ต่อต้าน
ป้องกัน แก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
๙. ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๐.
ส่งเสริมให้ครูเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถใช้ ICT เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนสู่ประชาคมอาเซียน
๑๑.
ส่งเสริมการพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถเพื่อการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
๑๒. ส่งเสริมการบริหารและจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน
เป้าประสงค์และตัวชี้วัดความสำเร็จ
เป้าประสงค์ |
ตัวชี้วัดความสำเร็จ |
๑.
ประชาชนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง ครอบคลุมและเป็นธรรม
|
๑.
จำนวนผู้รับบริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
|
๒. ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
เพื่อนำไปสู่ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
|
๑.
ผู้เรียนและผู้รับบริการได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
เพื่อนำไปสู่ความเป็นพลเมืองดีในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
|
๒.
ร้อยละ ๘๐ ของผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการของสถานศึกษาในระดับดีขึ้นไป
๓.
ผู้เรียนและผู้รับบริการมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายการเรียนรู้แต่ละหลักสูตรและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
|
|
๓.
ภาคีเครือข่ายเข้ามาร่วมดำเนินการจัดการศึกษาตลอดชีวิตอย่างกว้างขวาง
|
๑.
จำนวนภาคีเครือข่ายที่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒. ร้อยละ ๘๐
ของภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
|
๔. ชุมชนมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
|
๑.
จำนวนชุมชนที่มีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้อันเป็นผลจากการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.
ชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้
|
เป้าประสงค์
|
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
|
๕.
สถานศึกษานำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการบริหารองค์กรและจัดบริการการเรียนรู้แก่ประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ
|
๑.
ร้อยละ ๘๐ ของผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาและเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของสถานศึกษา
|
๖.
สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ
สามารถจัดบริการตอบสนองกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนและผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
|
๑. ร้อยละ ๘๐ ของบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาสมรรถนะในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๒.
บุคลากร
กศน.อำเภอบางสะพานได้รับการพัฒนาสมรรถนะในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
๓.
สถานศึกษามีระบบการนิเทศที่มีคุณภาพ
|
กลยุทธ์
กลยุทธ์ที่
๑. การศึกษาความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่ให้บริการ
กลยุทธ์ที่
๒. จัดการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน/ผู้รับบริการอย่างมีคุณภาพตลอดชีวิตและเพื่อการมีงานทำ
กลยุทธ์ที่
๓. พัฒนาแหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาเพื่อเป็นฐานความรู้ของชุมชน
กลยุทธ์ที่
๔. ผนึกกำลังภาคีเครือข่ายจัดการศึกษา
กลยุทธ์ที่
๕. พัฒนาระบบบริหารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ